ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ภาษาไทย(ชื่อเต็ม) : หลักสูตรสารสนเทศศาสตรมหาบัณฑิต (สารสนเทศศาสตร์)
(ชื่อย่อ) : สท.ม. (สารสนเทศศาสตร์)
ภาษาอังกฤษ(ชื่อเต็ม) : Master of Information Science (Information Science)
(ชื่อย่อ) : M.I.S. (Information Science)
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต
แผน ก แบบ ก 2 เป็นแผนการศึกษาที่มีรายวิชาไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต และมีการทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
แผน ข เป็นแผนการศึกษาที่มีรายวิชาไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต และมีการทำการค้นคว้าอิสระไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
1 อาจารย์ในสาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์
2 นักวิจัยด้านสารสนเทศ
3 นักวิชาการด้านสารสนเทศ หรือนักสารสนเทศ
4 บรรณารักษ์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการสารสนเทศดิจิทัล
5 นักบริหารจัดการสถาบันสารสนเทศหรือธุรกิจด้านสารสนเทศ
6 นักวิเคราะห์สารสนเทศ
7 นักธุรกิจสารสนเทศ
8 ประกอบอาชีพอื่นๆ ที่สามารถนำความรู้ด้านสารสนเทศศาสตร์ไปประยุกต์ใช้
ปรัชญา
หลักสูตรสารสนเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ มุ่งพัฒนามหาบัณฑิตให้เป็นผู้มีความสามารถในการพัฒนาและการบริหารจัดการสารสนเทศดิจิทัล ด้วยกระบวนการวิจัยที่สามารถแก้ปัญหาและการสร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่หรือนวัตกรรม โดยการบูรณาการศาสตร์ที่เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับสภาพบริบททางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน
ความสำคัญ
การเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การเมือง สิ่งแวดล้อมเทคโนโลยีนั้นส่งผลกระทบต่อองค์กรและการจัดการองค์กรทุกระดับ อีกทั้งการแข่งขันขององค์กรต่าง ๆมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากกระแสการเปลี่ยนแปลงที่ทวีความรุนแรงนั้น การบริหารจัดการองค์กรจะต้องอยู่บนพื้นฐานของการใช้ข้อมูล สารสนเทศ ขณะเดียวกันในการขับเคลื่อน Thailand 4.0 มีความจำเป็นที่จะต้องมีเทคโนโลยีดิจิทัลในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และข้อมูล สารสนเทศ มีความสำคัญสำหรับภาคการอุตสาหกรรม การศึกษา เศรษฐกิจ สังคม และการแพทย์สาธารณสุข อีกทั้งมีความเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของคนเราหรืออาจจะกล่าวได้ว่าการดำเนินธุรกิจ หรือกิจการใด ๆ นั้น จะถูกขับเคลื่อนอยู่บนฐานข้อมูล ประกอบกับจำนวนของข้อมูล สารสนเทศแต่ละเรื่องหรือแต่ละด้านมีปริมาณที่มาก มีการเผยแพร่สารสนเทศผ่านสื่อออนไลน์ที่มีรูปแบบต่าง ๆ ที่แตกต่างกันไปด้วยปริมาณที่มีมากมายมหาศาล ทำให้ไม่สามารถประเมิน หรือวิเคราะห์ได้ทันเวลาในการใช้งาน ฉะนั้นจึงมีความจำเป็นจะต้องพัฒนาบุคลากรทางด้านสารสนเทศดิจิทัล ให้มีความรู้ความสามารถในการสร้างสรรค์รวมไปถึงการจัดการสารสนเทศดิจิทัล โดยต้องมีหลักฐานเชิงประจักษ์จากการวิจัยมาใช้ประโยชน์ในการบริหารจัดการองค์กรและดำเนินการธุรกิจนั้น ๆ ทั้งนี้เพื่อรับมือกับการจัดการกับสภาพแวดล้อมที่มีความไม่แน่นอน สามารถขับเคลื่อนองค์กรได้อย่างมีศักยภาพด้วยการใช้ข้อมูล สารสนเทศที่มีประสิทธิภาพและตอบสนองกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว
ภาควิชาสารสนเทศศาสตร์ คณะวิทยาการสารสนเทศ เป็นสถาบันที่ผลิตมหาบัณฑิต ด้านสารสนเทศศาสตร์แห่งแรกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2529 และระดับปริญญาตรีตั้งแต่ปีการศึกษา 2541 บัณฑิตและมหาบัณฑิตที่ส าเร็จการศึกษาได้เข้าสู่สังคมปฏิบัติงานตามหน่วยงานต่าง ๆ ทั่วภูมิภาคในประเทศไทย สารสนเทศศาสตร์เป็นสหสาขาวิชาที่มีความเกี่ยวข้องกับศาสตร์ในหลายสาขา ได้แก่ คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร กฎหมาย การจัดการ ด้วยหลักการบูรณาการศาสตร์ ทั้งด้านบุคลากร และความรู้จากศาสตร์ที่หลากหลายของคณะวิทยาการสารสนเทศ กระบวนวิธีการวิจัยจึงสามารถนำผลการวิจัยที่ได้ไปประยุกต์ใช้หรือแก้ปัญหาที่ตอบสนองความต้องการ และทิศทางการเปลี่ยนแปลงขององค์ความรู้ที่มีการใช้ฐานคิดที่หลากหลาย ด้วยการบูรณาการองค์ความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นในสังคมไทยและองค์ความรู้จากนานาชาติเพื่อน าไปสู่ความเป็นสากล อีกทั้งพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ให้สอดคล้องกับบริบทชุมชนของประเทศ
ดังนั้นการปรับปรุงหลักสูตรสารสนเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565) ในครั้งนี้ จึงมีแนวทางการพัฒนาหลักสูตรฯ ให้สามารถสร้างมหาบัณฑิตที่มีความรู้ทั้งด้านการสร้างสรรค์องค์ความรู้และนวัตกรรมโดยการบูรณาการองค์ความรู้ที่สัมพันธ์กัน เพื่อให้ตอบสนองความต้องการของสถานประกอบการได้
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
หลักสูตรสารสนเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ มุ่งผลิตมหาบัณฑิตที่มีคุณลักษณะดังต่อไปนี้
1. มีความสามารถในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ วิจัยเพื่อแก้ปัญหา สร้างองค์ความรู้หรือนวัตกรรมในด้านสารสนเทศศาสตร์หรือด้านอื่นที่เกี่ยวข้อง
2. มีความสามารถในการบูรณาการองค์ความรู้ที่สัมพันธ์กันเพื่อประยุกต์ใช้ในการพัฒนาองค์การ หรือแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสมกับสังคม วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล
3. มีคุณธรรมและจริยธรรมทางวิชาการและวิชาชีพ
1. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต
2. โครงสร้างหลักสูตร
หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต ตามโครงสร้างหลักสูตรดังนี้
หมวดวิชา |
เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2558 (หน่วยกิต) |
หลักสูตรที่เสนอ (หน่วยกิต) |
||
แผน ก แบบ ก2 |
แผน ก แบบ ก2 |
แผน ข |
||
ก. หมวดวิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า |
12 |
24 |
30 |
|
กลุ่มวิชาบังคับ |
|
18 |
18 |
|
กลุ่มวิชาเลือก |
6 |
12 |
||
ข. หมวดวิชาประสบการณ์วิจัย วิทยานิพนธ์ การค้นคว้าอิสระ |
12 3 |
12 - |
- 6 |
|
จำนวนหน่วยกิตรวม |
36 |
36 |
36 |