1.1 ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : หลักสูตรสารสนเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Information Science
1.2 ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ภาษาไทย(ชื่อเต็ม) : สารสนเทศศาสตรบัณฑิต (สารสนเทศศาสตร์)
(ชื่อย่อ) : สท.บ. (สารสนเทศศาสตร์)
ภาษาอังกฤษ(ชื่อเต็ม) : Bachelor of Information Science (Information Science)
(ชื่อย่อ) : B.I.S. (Information Science)
1.3 จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
ไม่น้อยกว่า 135 หน่วยกิต
1.4 อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
1 ผู้สร้างเนื้อหาดิจิทัล (Digital Content Creator)
2 ผู้จัดการเนื้อหาบนสื่อ (Media Content Manager)
3 นักวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analyst)
4 นักออกแบบและพัฒนาสารสนเทศ (Information Designer)
5 นักวิเคราะห์และจัดการเอกสาร (Document Management/Analyst)
6 บรรณารักษ์ (Librarian)
7 นักวิชาการสารสนเทศ (Informtion Specialist)
2.1 ปรัชญา
หลักสูตรนี้มุ่งผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้มีความรู้และทักษะในการจัดการและให้บริการสารสนเทศดิจิทัล การออกแบบและผลิตสื่อดิจิทัล การวิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอข้อมูล และสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้เกิดประโยชน์และสร้างสรรค์
2.2 ความสำคัญ
เนื่องจากปัจจุบันเป็นยุคดิจิทัลที่มีข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ข้อมูลเกิดขึ้นทั้งจากทั้งที่เป็นข้อมูลที่มีการบันทึกโดยบุคคล เช่น ข้อมูลการบริการ ข้อมูลลูกค้า ข้อมูล Social Media และข้อมูลที่มีการจัดเก็บโดยอุปกรณ์และไหลผ่านเครือข่าย (Internet of Things) ยุคดิจิทัลจึงเป็นโลกของการแข่งขันด้วยข้อมูล ดังนั้นหน่วยงานและองค์กรจึงจำเป็นต้องสร้างและใช้ประโยชน์จากข้อมูลจำนวนมหาศาลนี้ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงประสิทธิภาพในการดำเนินงานและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ซึ่งศักยภาพในด้านการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Analytics) เป็นเรื่องจำเป็นและเป็นพื้นฐานสำหรับทุกหน่วยงานในปัจจุบัน นอกจากนั้นประเทศไทยยังได้ประกาศใช้นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ตั้งแต่วัน 12 เมษายน 2562 จนถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๘๐ ซึ่งโดยมุ่งหวังปฏิรูปประเทศไทยให้ทันต่อบริบทการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วไปสู่ยุคดิจิทัล เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยเป็นประเทศในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วที่สามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสร้างมูลค่าและขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืนในระยะยาว โดยหนึ่งในเป้าหมายของการใช้นโยบายและแผนฯ นั้นคือการพัฒนาทุนมนุษย์สู่ยุคดิจิทัลด้วยการเตรียมความพร้อมให้บุคลากรทุกกลุ่มมีความรู้และทักษะที่เหมาะสมต่อการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพในยุคดิจิทัล เช่น ประชาชนมีความสามารถในการพัฒนาและใช้สารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ มีความตระหนัก ความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้เกิดประโยชน์และสร้างสรรค์ มีกำลังคนด้านดิจิทัลที่มีความรู้ความสามารถและความเชี่ยวชาญระดับมาตรฐานสากล และกำลังคนในประเทศมีความรอบรู้และสามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติและสร้างสรรค์
การจะบรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้นั้นกำลังคนในประเทศได้รับการเสริมสร้างทักษะด้านดิจิทัลทั้งบุคลากรที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Specialist) และกำลังคนทั่วไปที่สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Digital Competent Workforce) เพื่อขับเคลื่อนกิจกรรมที่สร้างคุณค่าให้กับระบบเศรษฐกิจและสังคมโดยไม่ยึดติดกับสถานที่และเวลา (Mobility Workplace) มีการใช้ประโยชน์ร่วมกันในรูปแบบของระบบเศรษฐกิจและสังคมแห่งการแบ่งปัน (Sharing Economy) รวมถึงมีกำลังคนรุ่นใหม่ที่มีทักษะดิจิทัลระดับสูงและเป็นทักษะเฉพาะด้านที่ผสมผสานองค์ความรู้อันเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีดิจิทัล สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งคือการสร้างสื่อ คลังสื่อ และแหล่งเรียนรู้ดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่ประชาชนเข้าถึงได้อย่างสะดวกผ่านทั้งระบบโทรคมนาคมระบบแพร่ภาพกระจายเสียงและสื่อหลอมรวม การกำหนดให้หน่วยงานเจ้าของข้อมูลต่าง ๆ เช่นเอกสารสำคัญของราชการ ข้อมูลสถิติ ความรู้เชิงอาชีพมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และสาระบันเทิงต่าง ๆ เป็นต้น เร่งผลิตหรือแปลงข้อมูลข่าวสารองค์ความรู้ของหน่วยงานให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัลและเปิดให้ประชาชนเข้าถึงสืบค้นได้รวมทั้งจัดให้มีกลไกที่อนุญาตให้ประชาชนหรือธุรกิจสามารถนำข้อมูลไปต่อยอดใช้ประโยชน์ รวมทั้งผลิตสื่อและคลังสื่อสาระออนไลน์เพื่อการศึกษาเรียนรู้ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้องหรือใช้ระบบลิขสิทธิ์แบบเปิด เพื่อให้เกิดการต่อยอดการผลิตสื่อการเรียนรู้ทั้งในระบบและนอกระบบการศึกษา
ดังที่กล่าวมาจะเห็นว่ามีความจำเป็นต้องผลิตนักสารสนเทศที่มีทักษะดิจิทัลระดับสูงเพื่อให้เป็นนักสารสนเทศที่มีความรอบรู้ด้านการจัดการสารสนเทศดิจิทัล สามารถออกแบบและผลิตสื่อดิจิทัลในรูปแบบต่าง สามารถวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่และนำเสนอข้อมูล สามารถสังเคราะห์ ประมวลผล จัดการฐานข้อมูล การจัดเก็บและเผยแพร่ สามารถจัดบริการสารสนเทศดิจิทัลได้ และต้องมีทักษะในการวิจัยเพื่อหาข้อมูลในการพัฒนาหน่วยงานและวิชาชีพรวมถึงมีความสามารถในการจัดการเชิงกลยุทธ์ได้ ซึ่งต้องได้รับการศึกษาจากหลักสูตรและวิธีการเรียนการสอนที่เน้นทางด้านสารสนเทศศาสตร์โดยเฉพาะ เพื่อตอบสนองความต้องการของประเทศที่ต้องการไปสู่ดิจิทัลไทยแลนด์ ที่สามารถสร้างสรรค์และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเต็มศักยภาพในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานนวัตกรรมข้อมูลทุนมนุษย์และทรัพยากรอื่นใดเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไปสู่ความมั่นคงมั่งคั่งและยั่งยืน ซึ่งบัณฑิตสามารถปฏิบัติงานในหน่วยงานภาครัฐ ภาคธุรกิจ องค์การ และสถาบันบริการสารสนเทศประเภทต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม ตลอดจนมีคุณธรรมจริยธรรมในการประกอบวิชาชีพและสามารถพัฒนาตนเองให้ก้าวทันต่อความท้าทายจากพลวัตของเทคโนโลยีดิจิทัล
2.3 วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เพื่อผลิตบัณฑิตหลักสูตรสารสนเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ ให้มีคุณลักษณะและคุณสมบัติดังต่อไปนี้
3.1 จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 135 หน่วยกิต
3.2 โครงสร้างหลักสูตร
หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 135 หน่วยกิต แนวทางในการศึกษาตามโครงสร้างหลักสูตร นิสิตต้องเรียนในหมวดศึกษาทั่วไป และกลุ่มวิชาเอกบังคับเหมือนกันทุกคน แต่ในกลุ่มวิชาเอกเลือกและหมวดวิชาเลือกเสรีให้ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนได้ตามความถนัด
หมวดวิชา |
เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ |
หลักสูตรที่เสนอ |
|
แผนการศึกษา |
แผนการศึกษาแบบสหกิจศึกษา |
||
1.หมวดวิชาศึกษาทั่วไป |
ไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต |
30 หน่วยกิต |
30 หน่วยกิต |
2.หมวดวิชาเฉพาะด้าน |
ไม่น้อยกว่า 72 หน่วยกิต |
99 หน่วยกิต |
102 หน่วยกิต |
2.1 วิชาเอกบังคับ |
90 หน่วยกิต |
93 หน่วยกิต |
|
2.3 วิชาเอกเลือก |
9 หน่วยกิต |
9 หน่วยกิต |
|
3.หมวดวิชาเลือกเสรี |
ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต |
6 หน่วยกิต |
6 หน่วยกิต |
หน่วยกิตรวม |
ไม่น้อยกว่า 120 หน่วยกิต |
135 หน่วยกิต |
138 หน่วยกิต |